แผนปฏิบัติการของอาเซียน
กิจกรรมของอาเซียนยุคหลังสงครามเย็นได้ลดทอนความสนใจด้านการเมืองและความมั่นคง ในแผน ปฏิบัติการฮานอย ปี 2541 หลังจากการประกาศ “วิสัยอาเซียน 2020” เป็นการรองรับเขตการเสรีอาเซียน และแยกการหารือด้าน การเมือง และความมั่นคงในภูมิภาคเป็นอีกเวที หลังจากปฏิญญาบาหลี ปี 2545 ที่ให้สร้าง ประชาอาเซียนที่ ประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความร่วมมือ ด้านสังคมวัฒนธรรม จึงได้บรรจุประเด็นด้านการเมือง และความมั่นคงกลับเข้ามาในแผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ ปี 2547
ประชาคมที่ยึดถือคุณค่าและบรรทัดฐานร่วมกันบนพื้นฐานของกฏกติกา
ความร่วมมือในการพัฒนาทางการเมืองของอาเซียนมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบอบประชาธิปไตย
เพิ่มธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม
1. ความร่วมมือในการพัฒนาการเมือง
1.1 ส่งเสริมความเข้าใจและการให้คุณค่าแก่ระบบการเมือง วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของรัฐภาคีอาเซียน
1.2 วางพื้นฐานสำหรับกรอบเชิงสถาบันเพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดการไหลเวียนข้อมูลอย่างเสรีเพื่อการสนับสนุนและช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ในระหว่างรัฐภาคีอาเซียน
1.3 ริเริ่มโครงการสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างรัฐภาคีของอาเซียนในการพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม ระบบตุลาการและโครงสร้างพื้นฐานของกฎหมาย การบริการ สาธารณะที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และธรรมาภิบาลในภาครัฐและเอกชน
1.4 ส่งเสริมและการป้องกันสิทธิมนุษยชนและพันธกรณี
1.5 เพิ่มการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในการผลักดันให้มีการริเริ่มเรื่องการพัฒนาทางการเมืองของอาเซียน
1.6 การป้องกันและการต่อต้านการคอรัปชั่น
1.7 ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
2. การพัฒนาและแบ่งปันบรรทัดฐาน
2.1 ปรับกรอบเชิงสถาบันของอาเซียนเพื่อให้สอดคล้องกับกฎบัตรอาเซียน
2.2 ส่งเสริมให้รัฐที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและ ความร่วมมือในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
2.3 สร้างหลักประกันว่าจะมีการดำเนินการตามปฏิญญาว่าการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆอย่างเต็มที่เพื่อ สร้าง หลักประกันสันติภาพ และเสถียรภาพในทะเลจีนใต้
2.4 สร้างหลักประกันว่าจะมีการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ของเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้และ แผนปฏิบัติการของสนธิสัญญานี้
2.5 ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลอาเซียน
ภูมิภาคที่เป็นปึกแผ่น มีสันติภาพและสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งมีความรับผิดชอบ ร่วมกันเพื่อความมั่นคงในทุกด้าน
ในการสร้างประชาคมที่มีความมั่นคงทางการเมืองที่มีสันติภาพ เป็นปึกแผ่นและสามารถรับมือกับ สถานการณ์ต่างๆ นอกเหนือจากความมั่นคงตามแบบจารีต
1. มาตรการป้องกันความขัดแย้ง/การสร้างความเชื่อมั่น
1.1 ส่งเสริมความเข้มแข็งของมาตรการสร้างความเชื่อมั่นโดยใช้โอกาสในการแลกเปลี่ยนและ ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างเจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารและระหว่าง เจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารกับบุคลากรพลเรือนที่มีเพิ่มขึ้น
1.2 สนับสนุนให้มีความโปร่งใสและความเข้าใจอย่างชัดเจนในนโยบายด้านการป้องกันประเทศ และความตระหนัก ในเรื่องความมั่นคง
1.3 จัดตั้งกรอบของสถาบันที่มีความจำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการของการ ประชุมภูมิภาค เพื่อสนับสนุน ประชาคมการเมืองแล ความมั่นคงของ อาเซียน (ASEAN Political Security Commission: APSC)
2. การตกลงแปซิฟิกในกรณีความขัดแย้ง
2.1 การเสริมสร้างการตกลงแปซิฟิกในกรณีความขัดแย้งบนรูปแบบที่มีอยู่แล้วและพิจารณา การสร้างความเข้มแข็ง ด้วยการเพิ่ม กลไกที่จำเป็น
2.2 จัดทำการศึกษาวิจัยและการแลกเปลี่ยนของศูนย์ต่างๆของอาเซียนที่มีการปฏิบัติงานที่มี ประสิทธิภาพด้านการจัดการ ในกรณีเกิดความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และ การทำให้เกิดสันติภาพ
2.3 การพัฒนาความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคง
2.4 การพัฒนาให้มีการริเริ่มสนับสนุนการดำเนินงาน
3. การสร้างสันติภาพภายหลังเกิดความขัดแย้ง
3.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน
3.2 การดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และโครงการสร้างขีดความสามารถให้กับประชาชนในพื้นที่ภายใต้การฟื้นฟู และการก่อสร้างภายหลังจากที่เกิดความขัดแย้ง
3.3 การเพิ่มความร่วมมือในด้านความสมานฉันท์
4. ความมั่นคงในรูปแบบที่ไม่ยึดถือตามประเพณี
(อาชญากรรมข้ามชาติ – การก่อการร้าย, การค้ามนุษย์, การลักลอบค้ายาเสพติด, โจรสลัด, การลักลอบค้าอาวุธสงคราม, อาชญากรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และอาชญากรรมคอมพิวเตอร์)
4.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการร่วมมือในเรื่องความมั่นคงที่ไม่ได้ยึดถือตามประเพณี การต่อสู้กับอาชญากรข้ามชาติ และปัญหาเรื่องเขตแดนอื่นๆ
4.2 การเพิ่มความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายโดยการให้สัตยาบันในเบื้องต้นและการดำเนินงาน อย่างเต็มที่ของอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องการต่อต้านการก่อ การร้าย (ASEAN Convention on Counter-Terrorism)
การเคลื่อนไหวและการมองออกไปนอกภูมิภาคในยุคโลกภิวัฒน์
1. การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อความเป็นกลางของอาเซียนในโครงสร้างของภูมิภาค
2. การสนับสนุนด้านการเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศพันธมิตรนอกอาเซียน
3. ความร่วมมือว่าด้วยประเด็นที่น่ากังวลในโลก