ประกาศจากทางทีมงาน เนื่องจากเนื้อหาภายในเว็ปไซท์ยังไม่ค่อยสมบูรญืนักทางเราจะจัดและเพิ่มเนื้อหาให้เร็วที่สุดแต่ช่วงนี้ต้องขออภัย แล้วจะมาอัพเดทข้อมูลข่าวสารใหม่น่ะคับ ทีมงาน
THAILAND-INDONESIA(SOLO) - ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาช

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของอาเซียน นับว่าเป็นผลดีต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของประเทศเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถ ต่อรอง ทางด้านทางการค้ากับประเทศสมาชิก นอกจากนี้การค้าระหว่างประเทศ สมาชิกด้วยกัน ได้ยึดหลักความถนัดในการผลิต หรือการ แบ่งประเภท อุตสาหกรรมให้ประเทศสมาชิก ทำการ ผลิตโดยไม่มีการผลิต แข่งขันกัน ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน ดังนี้
1. ด้านการค้า ได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้าด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร หรือ ยกเว้นภาษีที่ ประเทศไทยส่งไปขายยังประเทศ สมาชิก สำหรับสินค้าบางประเภท เช่นเดียวกับที่ประเทศสมาชิกได้รับจาก ประเทศไทย ภายใต้ข้อตกลงของเขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา (AFTA : ASEAN Free Trade Area) 
2. ด้านอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับอาเซียนในการจัดตั้งโครงการอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าสำหรับ ทดแทนสินค้า ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อาเซียน ได้เลือกอุตสาหกรรมหลักให้ประเทศสมาชิกเลือก ทำการผลิต คือ ประเทศไทยผลิตเกลือหิน และโซดาแอช อินโดนีเซียและมาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย  สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต โครงการนี้ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลง คือ ไทยเปลี่ยนเป็นผลิต แร่โพแทช สิงคโปร์ยกเลิก โครงการ ฟิลิปปินส์เปลี่ยนเป็นผลิตทองแดง แปรรูป ส่วนอินโดนีเซียและมาเลเซียยังคงผลิต ปุ๋ยยูเรียตามเดิม ซึ่งการร่วมมือนี้เป็นการร่วมมือ ระดับรัฐบาล ส่วนภาคเอกชนก็มีการร่วมมือกันในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยการแบ่งการผลิตชิ้นส่วน รถยนต ์ตามความถนัดของแต่ละประเทศ และต่อมมามี ีโครงการ แบ่งผลิต สินค้าอุตสาหกรรม โดย ผู้ผลิตจะต้องเป็น บริษัทเอกชนอย่างน้อย 2 บริษัท จากประเทศ สมาชิกอย่างน้อย 2 ประเทศ 
3. ด้านการคลังและการธนาคาร นโยบายด้านการคลังและการธนาคาร ประเทศสมาชิกได้ตกลง ร่วมมือกันในด้าน การจัดตั้งตลาดตั๋วเงิน ที่ธนาคาร รับรอง จัดตั้งบรรษัทการเงินอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัย แห่งอาเซียน จัดตั้งกลไกยกเว้นการเก็บภาษีและ ป้องกันการเก็บภาษี ีซ้ำซ้อน และร่วมมือ กับประชาคมยุโรปในการ จัดตั้งกองทุนร่วมเพื่อการพัฒนา ระหว่างอาเซียนกับอีอีซี
4. ด้านการเกษตร อาเซียนได้มีการร่วมมือกันทางด้านการเกษตรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก โยบายด้านการเกษตรได้ดำเนินการไปหลายโครงการ เช่น โครงการการสำรองอาหาร เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งกัน และกันในยาม ขาดแคลนในเวลาฉุกเฉิน โครงการจัดตั้งศูนย์วางแผนพัฒนาการเกษตรของอาเซียน โครงการ จัดการเกี่ยวกับ อาหารภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน-ออสเตรเลีย โครงการเทคโนโลยี การประมง ภายใต้ ความร่วมมือของ อาเซียน-แคนาดา โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ความร่วมมือ ของอาเซียน-อีซี โครงการ จัดตั้งด่านกักกันโรคพืช และสัตว์ในภูมิภาคอาเซียน โครงการตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ไม้ป่า โครงการอนุรักษ์  และจัดการต้นน้ำลำธาร โครงการปลูก ป่า และโครงการตลาดของ ทรัพยากรป่าไม้ นอกจากนี้ยังมี โครงการอื่นที่อยู่ใน ระหว่างการเจรจาตกลงอีกมาก
 5. ด้านการขนส่งและคมนาคม เป็นนโยบายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางนโยบายทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะทางด้านการขนส่งทางบก การเดินเรือและการท่าเรือ การบินพลเรือน การไปรษณีย์ และโทรคมนาคม
6. ด้านการเมือง ความสามัคคีระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนในการแก้ปัญหาอินโดจีน ทำให้ทั่วโลกหันมา สนใจ และช่วยเหลืออินโดจีนมากขึ้น และยังช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทย เกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพอีกด้วย
7. ด้านวัฒนธรรม ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกซึ่งเป็นการส่งเสริม ความเข้าใจอันดี ต่อกันมากขึ้น
 
 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free