ประกาศจากทางทีมงาน เนื่องจากเนื้อหาภายในเว็ปไซท์ยังไม่ค่อยสมบูรญืนักทางเราจะจัดและเพิ่มเนื้อหาให้เร็วที่สุดแต่ช่วงนี้ต้องขออภัย แล้วจะมาอัพเดทข้อมูลข่าวสารใหม่น่ะคับ ทีมงาน
THAILAND-INDONESIA(SOLO) - อาเซียนในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

อาเซียนในปัจจุบันและทิศทางในอนาคต

นับตั้งแต่การก่อตั้ง ASEAN เมื่อปี 2510 จนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าอาเซียนประสบความสำเร็จใน การบรรลุถึง เป้าหมายสำคัญๆ และ เจตนารมย์ที่กำหนดไว้ในปฏิญญากรุงเทพฯ อย่างน่าพอใจ ทั้งใน ด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านการพัฒนา ความสัมพันธ์กับโลกภายนอก ความสำเร็จประการหนึ่งน่าจะได้แก่การดำเนินการเพื่อให้ทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต ้ หันหน้าเข้าหากัน และร่วมมือกัน มากขึ้นในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการรวมตัวกัน ของประเทศ ใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้กรอบ ความร่วมมือ อาเซียนกำลังพัฒนาเป็นรูปเป็น ร่างอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อาเซียนในวัย 33 ปี กำลังประสบกับเงื่อนไขใหม่ๆ หลายประการทั้งจากปัจจัย ภายใน และภายนอกภูมิภาคซึ่งท้าทายกระบวนการ รวมตัวและความเป็น ปึกแผ่นของ ประเทศสมาชิก และบั่นทอนความน่าเชื่อถือและบทบาท ขององค์กรอาเซียนด้วย จึงมีความ จำเป็นที่ประเทศสมาชิกจะต้อง มีความตื่นตัวและให้ความสนใจในการร่วมกันแสวงหาแนวทางในการ เผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆเหล่านี้ต่อไป

ความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาค
ภายหลังจากสงครามเย็นยุติลง และการแก้ไขปัญหากัมพูชา สถานการณ์ความมั่นคงทาง การเมืองใน ภูมิภาคโดย ส่วนรวม เริ่มดีขึ้นและยังคงมีแนว โน้มในทางบวกต่อไป โดยประเทศในอินโดจีนได้ เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนครบ ทุกประเทศแล้ว โดยกัมพูชาเข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 10 
เมื่อปี 2542 ส่วนสถานการณ์ในติมอร์ตะวันออก กำลังพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้นขณะเดียวกัน อาเซียนได้ผลักดันการจัดทำเอกสารแนวทาง ปฏิบัติระดับภูมิภาคในทะเล จีนใต้ (Regional Code of Conduct on the South China Sea) ระหว่างอาเซียนกับจีนซึ่งจะช่วย สร้างความไว้เนื้อ เชื่อใจระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสร้างความมั่นใจให้แก่ ่ประเทศนอก ภูมิภาค นอกจากนั้น อาเซียนยังคง ให้ความสนใจต่อสถานการณ์ ์ใน คาบสมุทรเกาหลี โดยล่าสุด ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการฯ ได้เชิญรมว.กต. เกาหลีเหนือมา เยือนไทยในช่วงการประชุม AMM ครั้งที่ 33 ในเดือน กรกฎาคม 2543 เพื่อจักได้มีโอกาส สัมผัสกับบรรยากาศ ของการประชุมและกระบวนการ ร่วมมือระดับภูมิภาค และมีโอกาส ได้พบปะกับประเทศอื่นรวมทั้ง ประเทศที่มีบทบาท เกี่ยวข้องกับ ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีด้วย ทั้งนี้ อาเซียนยังคงมีบทบาทนำในการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการเมือง และความมั่นในเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาให้เป็นกลไก ในการสร้างเสถียรภาพ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และป้องกันมิให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ในภูมิภาค ทั้งนี้ ยังได้ดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้สนธิ สัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) เป็นหลักในการ ดำเนินความสัมพันธ์ในภูมิภาค อีกทั้งได้พยายามเร่งการปฏิบัติตามสนธิสัญญา เขตปลอดอาวุธ นิวเคลียร ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEANWFZ) และโน้มน้าวให้ประเทศที่มี อาวุธนิวเคลียร ์ เข้าร่วมใน สนธิสัญญาดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความมั่นคงในภูมิภาคยังคงมีความแปรปรวนสืบเนื่องจากปัญหาในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้ง ในคาบสมุทรเกาหลี ความตึงเครียดระหว่างจีน-ไต้หวัน ตลอดจนปัญหาภายในของบาง ประเทศ ในอาเซียน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งพม่าและอินโดนีเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อ ความมั่นคงของภูมิภาค ในขณะเดียวกัน อาเซียนยังต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ อาทิ ปัญหาข้ามชาติซึ่งทวีความ รุนแรง มากยิ่งขึ้นแล ต้อง อาศัยความ ร่วมมือ อย่างเป็นรูปธรรมในระดับภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหา

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอาเซียน

ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียนเริ่มมีเป้าหมายชัดเจนที่จะนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ ในภูมิภาค นับตั้งแต่การประชุม สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อปี 2535 มีดำริจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับแต่นั้นมากิจกรรมของอาเซียนได้ขยายครอบคลุมไป สู่ทุกสาขาหลักทางเศรษฐกิจ รวมทั้งในด้าน การค้า สินค้าและบริการ การลงทุน มาตรฐานอุตสาหกรรมและการเกษตร ทรัพย์สิน ทางปัญญา การขนส่ง พลังงาน และการเงิน การคลัง เป็นต้น โดยมีการกำหนดทิศทางโครงร่างและ แผนงานความร่วมมือ ตลอดจนระยะเวลาบรรลุผลที่ชัดเจน ภายใต้ วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 และแผนปฏิบัติ การฮานอย (Hanoi Plan of Action) ซึ่งกำหนดเป้าหมายที่จะให อาเซียนเป็นเขต เศรษฐกิจ ที่มีการ ไหลเวียนของสินค้า การบริการ และการลงทุนอย่าง เสรี พัฒนาการที่สำคัญๆ มีดังนี้

                                               
ภายใต้ AFTA มีการร่นระยะเวลาการลดภาษีศุลกากรของ 6 ประเทศสมาชิกดั้งเดิม สำหรับสินค้า อุตสาหกรรม ให้เหลืออัตรา 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2002 และ 0% ภายในปี ค.ศ. 2010 และสำหรับ สินค้าเกษตรให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2010

มีการเจรจาเปิดเสรีด้านการค้าบริการใน 7 สาขา (การขนส่งทางทะเล การขนส่งทางอากาศ การเงิน การคลัง วิชาชีพธุรกิจ การก่อสร้าง โทรคมนาคม และการท่องเที่ยว)เพื่อให้ประเทศสมาชิกเปิดเสรี ด้านการบริการ มากกว่าที่ผูกพันไว้ในกรอบ WTO ขณะนี้ อาเซียนได้เริ่มเจรจารอบใหม่โดยมี เป้าหมายให้การเปิดเสรี ครอบคลุมทุกสาขาการบริการ (รวม 12 สาขา) ภายในปี ค.ศ. 2020

มีการร่นเวลาการจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (AIA) จากเดิมปี ค.ศ. 2010 เป็นปี ค.ศ. 2003 ซึ่งมี จุดประสงค์เพื่อ จัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียนที่มีความ ได้เปรียบและดึงดูดการลงทุนจากภายในและ ภายนอกภูมิภาค โดยครอบคลุมการ ลงทุนโดยตรงทั้งหมดยกเว้นการลงทุนด้านหลักทรัพย์ ทั้งนี้ประเทศ สมาชิกอาเซียนจะต้องเปิดอุตสาหกรรม (Market Access) ในทุกสาขาที่ไม่มีการขอยกเว้นไว้ และให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่นักลงทุนอาเซียน กล่าวคือคนชาติของรัฐสมาชิกหรือนิติบุคคลของรัฐสมาชิก โดยทันทีสำหรับ 7 ประเทศสมาชิก ทั้งนี้ ความตกลง AIA มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2542 ซึ่งสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีการขอยกเว้นชั่วคราว ประเทศสมาชิกจะต้องยกเลิกภายในปี ค.ศ. 2003 มีการกำหนดมาตรการ เชื่อมโยง เส้นทางถนนหลวง 23 สาย สนามบินศุลกากร 36 แห่ง และท่าเรือ 46 แห่งทั่วภูมิภาค ให้อยู่ในระบบ โครงข่าย การขนส่งอาเซียน และจะมีการ อนุญาตและอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการขนส่งใน แต่ละประเทศสามารถดำเนิน การขนส่งสินค้าผ่านแดน (Goods in Transit) ทั่วอาเซียนภายในปลายปีนี้ โดยจะขยายไปถึงการขนส่ง ข้ามแดน (Inter-state Transport) และการขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal Transport) ด้วย ในอนาคตอันใกล้นี้ มีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร แก่บริษัทต่างๆ ในอาเซียนที่มีการ แลกเปลี่ยนวัตถุดิบ /ส่วนประกอบ ระหว่างกันเพื่อนำไปผลิตสินค้าสำเร็จรูป /กึ่ง สำเร็จรูปตามโครงการ ความร่วมมือทางอุตสาหกรรม (AICO) แล้ว 40 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นโครงการ ผลิตรถยนต์ของ บริษัทญี่ปุ่น

การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนดังกล่าวข้างต้นมีผลในทางบวกต่อการค้าและการลงทุนอย่างชัดเจน โดยตลาดอาเซียนมีประชากรถึง 500 ล้านคน มีผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (GDP) รวมกันประมาณ 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนการค้าภายในภูมิภาคได้ ขยายตัวจาก 44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2536 (ก่อนความตกลง AFTA มีผลบังคับใช้) เป็น 73.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 และมูลค่าการลงทุน จากต่างชาติโดยเฉลี่ยต่อปีได้ ขยายตัวเช่นกันจาก 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี             2529-2534       เป็น 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี            2536-2540      

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของ อาเซียน อาทิการรับประเทศสมาชิกใหม่ ่ซึ่งทำให้ตลาดของ อาเซียนใหญ่ขึ้นแต่ในขณะเดียวกันก็แบ่งออก เป็น 2 กลุ่ม (two-tier) โดยปริยายเนื่องจากระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันมาก วิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจและการเงินใน เอเชีย ก็ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทุกประเทศสมาชิกและต่อขีด ความ สามารถในการดำเนินโครงการ ที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากอีกทั้งถูกใช้เป็นข้ออ้างโดยภาค เอกชนในท้องถิ่นให้มีการชะลอการเปิดเสรีทาง การค้าสินค้าและบริการด้วย นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อาทิ ความพยายามที่จะให้ มีการค้ารอบใหม่ ในกรอบ WTO การเร่งเปิดเสรีในกรอบ APEC และการที่ จีนกลายเป็นคู่แข่งสำคัญ ทางการค้า และการลงทุนของ อาเซียนล่าสุด มีบางประเทศที่เริ่มขอชะลอการ ลดภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าบางรายการในรายการยกเว้น การลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) ซึ่งมีกำหนดจะต้องนำเข้าสู่กระบวนการลดภาษี ภายในปี ค.ศ. 2000 นี้ และทยอย ลดภาษีให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2002 ตามพันธกรณีภายใต ้ AFTA แล้ว โดยมาเลเซียขอชะลอ การลดภาษีสำหรับสินค้าชุดประกอบรถยนต์ (Completely Knocked-Down: CKD) และรถยนต์ประกอบแล้ว (Completely Built-Unit: CBU) โดยอ้างว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ของมาเลเซีย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ ทางเศรษฐกิจจึงต้อง มีการปกป้อง ไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งไทยได้พยายามขอให้มาเลเซีย ทบทวนท่าทีดังกล่าวมาโดย ตลอดเพราะเห็นว่าประเทศสมาชิก ควรต้องปฏิบัติตามพันธกรณีอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้น จะเป็นการสร้าง กรณีตัวอย่าง และส่งผลกระทบต่อ ภาพพจน์และความน่าเชื่อถือ ของอาเซียน นอกจากนั้น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ได้แจ้งว่าจะขอ ชะลอการลดภาษีสำหรับสินค้าน้ำตาล ซึ่งอยู่ใน รายการ TEL โดยจะขอโอนย้าย ไปสู่รายการสินค้าอ่อนไหว (sensitive list) แทนซึ่งกำหนดจะต้องเริ่มลดภาษี ในช่วงระหว่าง ปี ค.ศ. 2001-2003 โดยทยอย การลดภาษี ให้เหลือ 0-5% ภายในปี ค.ศ. 2010

ความร่วมมือด้านสังคม

ความร่วมมือด้านสังคมของอาเซียนในปัจจุบันมีความหลากหลายมาก รวมถึงการพัฒนาสังคม วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี และการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความ เปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็วสืบเนื่องจากกระแสโลกาภิวัตน์ กอรปกับค่านิยมของ ประชาชนทั่วภูมิภาคที่เริ่มมี ความคาดหวังในเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิขั้น พื้นฐานอื่นๆ มากขึ้น ตลอดจน ผลกระทบจาก วิกฤตการณ์ทาง เศรษฐกิจที่ได้สร้างปัญหาการว่างงานและ ความยากจนที่ขยายช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนมากยิ่งขึ้น อาเซียนจึงได้เริ่ม ให้ความสำคัญลำดับต้น ต่อการร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางสังคม และการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์

 
1  2  3   2

ทิศทางในอนาคต

เพื่อให้ ASEAN สามารถเผชิญกับสิ่งท้าทายต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นและในขณะเดียวกันเพื่อเป็นการ เสริมสร้าง รากฐาน แห่ง ความร่วมมือของประเทศ ในภูมิภาคในกรอบอาเซียน อาเซียนจำเป็นต้อง ผลักดันความร่วมมือในสาขาต่างๆ ให้มีความก้าวหน้าขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริง ของประชาชน จึงได้ให้ความสำคัญ ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

เสริมสร้างบทบาทของเวทีการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงใน ภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก ให้เป็นกลไกป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในภูมิภาค ตลอดจนพัฒนา บทบาท และการมีส่วนร่วมของ อาเซียนในการแก้ไข ป้องกันปัญหาหรือสถานการณ์ในภูมิภาค ได้อย่างทันเหตุการณ์ ซึ่งในเรื่องนี้ ไทยได้เสนอ ให้มีการจัดตั้ง กลุ่มผู้ประสานงาน อาเซียน (ASEAN Troika) เพื่อเป็นแกนนำในการส่งเสริม ให้อาเซียนสามารถ เผชิญสิ่งท้าทายต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

ผลักดันการรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อขยายการค้าภายใน ภูมิภาคและ ชักจูงการลงทุน จากต่างชาติ ซึ่งหมายความว่า จะต้องมีการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลง ทางเศรษฐกิจของอาเซียน อย่างต่อเนื่อง และต้องมีการพิจารณาแนวทางความร่วมมือ รูปแบบใหม่ๆ ที่จะใช้เป็นพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน ต่อเนื่องจากที่มีการจัดตั้ง AFTA และ AIA แล้วในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งในเรื่องนี้ อาจรวมถึงการเปิดเสรีเต็ม รูปแบบ สำหรับสินค้าบางรายการที่อาเซียนมี ขีดความสามารถ ในการแข่งขันสูงระดับโลก (ASEAN Product Community) และการเปิดเสรีทาง พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ภายใน อาเซียน เป็นต้น

เสริมสร้างการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศ/กลุ่มประเทศนอกภูมิภาคเพิ่มเติมจากกรอบ APEC และกับ สหภาพยุโรปในกรอบ ASEM โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับ ประเทศในเอเชียตะวันออก ในกรอบ ASEAN+3: East Asia Cooperation ซึ่งเป็นดำริจากที่ประชุมสุดยอด ระหว่างผู้นำอาเซียน และผู้นำจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เมื่อเดือน พฤศจิกายน ศกนี้ และการพัฒนาความร่วมมือ กับเขตเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ เขตเศรษฐกิจระหว่าง ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (CER) และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เป็นต้น

เร่งรัดความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศลุ่มน้ำโขง โดยรณรงค์ให้ช่วงระหว่าง ปีค.ศ. 2000-2010 เป็นทศวรรษแห่งความร่วมมือ เพื่อ พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศในลุ่มน้ำโขง เพื่อยก ระดับชีวิตความเป็นอยู่ของ ประชาชน ในประเทศสมาชิกใหม่และสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจ ของประเทศ เหล่านี้ให้สอดคล้องกับ ตลาดของอาเซียน ทั้งนี้ โดยระดมความร่วมมือจากประเทศนอก ภูมิภาค องค์การระหว่าง ประเทศและ ภาค เอกชนด้วย

ร่วมกันเสริมสร้างโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets) เพื่อเป็นมาตรการเสริมการ พัฒนาเศรษฐกิจ โดยมุ่งเน้นการขจัดความยากจน การเพิ่มการจ้างงานที่มีผลผลิตที่สูงขึ้น และการ คุ้มครอง กลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม ทั้งนี้ โดยระดมความร่วมมือและการสนับสนุนจากต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และองค์การที่มิใช่ของ รัฐบาลด้วย

เร่งกำหนดแผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นการ พัฒนาขีดความ สามารถของทรัพยากรมนุษย์เพื่อ สามารถปรับตัวเข้ากับวิทยาการสมัยใหม ่ ่และสภาพทางเศรษฐกิจตลอดจน ความต้องการของภาคธุรกิจ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ โดยการร่วมมือกับประเทศที่สามในลักษณะของ ความร่วมมือทวิภาคี ความร่วมมือ ในกรอบ เหลี่ยมเศรษฐกิจต่างๆ ตลอดจนความร่วมมือสามเส้า นอกจากนั้น ต้องมีการร่วมมือด้านการศึกษา ในระดับ ภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดทำเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
(ASEAN University Network) เพื่อเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยของ ภูมิภาค และการพิจารณาจัดตั้ง
มหาวิทยาลัย ASEAN Virtual University เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มของมหาวิทยาลัย และ สถาบัน วิจัยโดยใช้ อินเตอร์เน็ต และเทคโนโลยีการศึกษา ทางไกลอื่นๆ

           4                    2     7                  

ตลอด 33 ปี ที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าอาเซียนได้วิวัฒนาการมาจากสภาวะความจำเป็นทางการเมือง เพื่อเป็นเวที ความร่วมมือในการเสริมสร้าง สันติภาพและความมั่นคงให้บังเกิดขึ้นในภูมิภาค โดยต่อมาอีกระยะหนึ่งเมื่อ สถานการณ์ทางการเมืองและ ความมั่นคงเริ่มพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น อาเซียนก็ได้มุ่งเน้นความสนใจไปส่ ความ ร่วมมือทางเศรษฐกิจมากขึ้น โดยมีการจัดตั้ง AFTA เพื่อนำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ สมาชิกในสภาวะที่การแข่งขันทาง การค้าระหว่างประเทศทวีความรุนแรงขึ้น โดยจนถึงปัจจุบัน ความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจของอาเซียน ได้ขยาย เพิ่มขึ้นทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก และขณะนี้ อาเซียนได้เริ่มให้ความสนใจ มากขึ้นที่จะร่วมมือเพื่อการพัฒนาสังคม และปรับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนให้ดีขึ้น และกำลังจะหาทางพัฒนา ความร่วมมือในเชิงคุณภาพเพื่อให้ทุกฝ่าย และสังคมทุกระดับมีจิตสำนึกของความเป็น ประชาคมอาเซียน มากยิ่งขึ้น โดยให้อาเซียนเป็นองค์กรการที่สามารถเข้าถึง และตอบสนองความต้องการของ ประชาชนในภูมิภาคนี้ 

 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free